เมนู

ปฏิสนธิที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ย่อมไม่ได้ในวาระนี้.
[1167] 3. ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัย
แก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2
ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1 ด้วยอำนาจของ
สหชาตปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ 2 ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1
ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.

7. อัญญมัญญปัจจัย


[1168] 1. ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย ฯลฯ.


8. นิสสยปัจจัย


ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย ฯลฯ.

อัญญมัญญปัจจัยก็ดี นิสสยปัจจัยก็ดี เหมือนกับสหชาตปัจจัย.

9. อุปนิสสยปัจจัย


[1169] 1. ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย